|
สำนักข่าวต่างประเทศรายงานเมื่อวันที่ 19 ก.ย.ว่า
ผลการลงประชามติประเด็นว่าชาวสก๊อตแลนด์ต้องการแยกดินแดนจากสหราชอาณาจักร และอังกฤษ หรือไม่ ล่าสุด
การนับคะแนนใน 32 เขตได้เสร็จสิ้นแล้ว โดยมีผู้ลงคะแนนคัดค้านการแยกตัวเป็นจำนวน 2,001,926 เสียง
เหนือการสนับสนุนให้แยกดินแดน 1,617,989 เสียง โดยการลงประชามติในครั้งนี้ มีผู้ออกมาใช้สิทธิประมาณ 85
เปอร์เซนต์ของผู้มีสิทธิทั้งหมด
โดยที่เมืองกลาสโกว์ เมืองใหญ่ที่สุดของสก๊อตแลนด์
และเมืองใหญ่ที่สุดอันดับสามของอังกฤษ ได้โหวตสนับสนุนการแยกตัวด้วยคะแนน 194,779 เสียง
ขณะที่คะแนนโหวตคัดค้านด้วยจำนวน 169,347 เสียง ขณะที่เมืองดันดี เวสต์ ดันบาร์ตันไชร์ และนอร์ธ
ลานาคไชร์ ต่างก็โหวตสนับสุนนการแยกตัวมากกว่า ขณะที่เมืองเอดินเบอระห์ เมืองหลวงสก๊อตแลนด์
ได้โหวตคัดค้านการแยกตัวมากกว่า โดยมีจำนวน 194,638 เสียง ต่อ 123,927 เสียง
ส่วนเมืองอเบอดีน มีเสียงโหวตคัดค้านการแยกตัวด้วยคะแนนเสียงมากกว่าฝ่ายสนับสนุน 2
หมื่นเสียง โดยผลประชามติที่ออกมาต้องตรงกับ "ยูโกฟ" หน่วยงานจัดทำโพลที่ระบุว่า
คะแนนโหวตโนจะพลิกมานำโหวตสนับสนุนเล็กน้อยก่อนหน้านี้
โดยกลุ่มผู้โหวตโนน่าจะออกมาใช้สิทธิมากกว่ากลุ่มโหวตสนับสนุน
ภายหลังผลประชามติฯ
นายอเล็ก แซลมอนด์ ผู้นำของสกอตแลนด์ ได้ออกแถลง ยอมรับผลคะแนนของประชาชน
และเรียกร้องยอมรับเจตจำนงของประชาธิปไตยของชาวสกอตแลนด์ นอกจากนี้ยังระบุอีกว่า
กระบวนการที่ลงประชามติครั้งนี้ แสดงให้เห็นถึงความใส่ใจของประชาชนชาวสกอตแลนด์
ที่ออกมาใช้สิทธิจำนวนมาก ถึง 85 เปอร์เซนต์
นับเป็นยอดผู้ใช้สิทธิที่มากที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ของโลกประชาธิปไตย
นอกจากนี้นายอเล็กแซลมอนด์
ยังได้กล่าวระหว่างแถลงการณ์ว่าพวกเรา จะก้าวไปข้างหน้า ในฐานะประเทศเดียวกัน
พร้อมทั้งเรียกร้องให้อังกฤษเพิ่มอำนาจให้แก่ประชาชนชาวสก๊อตแลนด์ด้วย
ทางด้านนายเดวิด คาเมรอน นายกรัฐมนตรีอังกฤษ แสดงความยินดีต่อผลประชามติที่ออกมา
โดยขอบคุณชาวสก๊อตแลนด์กว่า 1.6 ล้านคนที่โหวตคัดค้านการแยกตัวจากอังกฤษ
พร้อมกับชื่นชมต่อผู้ใช้สิทธิทั้งสองฝ่าย ระบุว่า อังกฤษได้รับฟังความต้องการของชาวสก๊อตแลนด์แล้ว
และนี่เป็นโอกาสที่อังกฤษจะสร้างวิถีชีวิตของผู้คนที่อยู่ในสหราชอาณาจักร
และการเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่สิ่งที่ดีขึ้น
นอกจากนี้ ผู้นำอังกฤษยังกล่าวว่า
พรรคการเมืองอังกฤษจะปฎิบัติตามคำมั่นที่จะเพิ่มอำนาจให้แก่สภาสก๊อตแลนด์ โดยลอร์ด สมิธ
ผู้นำการจัดมหกรรมกีฬาเครือจักรภพ จะเป็นผู้กำกับควบคุมกระบวนการดังกล่าว
ซึ่งจะรวมทั้งการเพิ่มอำนาจให้แก่สก๊อตแลนด์ด้านการจัดเก็บภาษี งบประมาณ และสวัสดิการ
ซึ่งจะต้องสรุปก่อนเดือนพ.ย.นี้และมีการร่างเป็นกฎหมายในเดือนม.ค.ปีหน้า โดยผู้นำอังกฤษยังยอมรับว่า
ชาวอังกฤษ เวลส์ และไอร์แลนด์ จะต้องมีอำนาจในสิทธิของพวกเขามากขึ้น
รวมทั้งอำนาจของสมาชิกสภาสก๊อตแลนด์ที่สามารถออกเสียงโหวตในประเด็นของอังกฤษด้วย
ด้านนายอลิสเตอร์ ดาร์ลิง นักการเมืองพรรคเลเบอร์
ซึ่งเป็นผู้นำการคัดค้านการแยกสก๊อตแลนด์ออกจากอังกฤษ กล่าวสรรเสริญผลประชามติที่ออกมา แต่ชี้ว่า
ชาวสก๊อตแลนด์ได้แสดงสารออกมาแล้วว่าพวกเขาต้องการเปลี่ยนแปลง ซึ่งรัฐบาลอังกฤษต้องฟังสิ่งนี้
และเราได้เลือกความสามัคคีเป็นหนึ่งเดียว เหนือความแตกแยก และเลือกการเปลี่ยนแปลงในด้านดี
เหนือการแยกดินแดนที่ไม่มีความจำเป็น พร้อมทั้งระบุว่า
ทางการอังกฤษจะยังคงยึดในคำมั่นต่อการให้สิทธิประโยชน์หรืออำนาจที่มากขึ้นแก่สก๊อตแลนด์ดังเดิม
ขณะที่รองนายกรัฐมนตรีนิคเคล็ก
กล่าววา เขารู้สึกปิติยินดีกับผลที่ออกมา และว่า
ประชามตินี้ได้นำไปสู่ความต้องการให้มีการปฎิรูปรัฐธรรมนูญของสหราชอาณาจักร
เมื่อชาวสก๊อตแลนด์ต้องการเสรีภาพและการปกครองตัวเองในมือเพิ่มขึ้น
มากกว่าการอำนาจที่ถูกตีกรอบจากรัฐสภาอังกฤษ
ทั้งนี้ ผลประชามตินี้
ได้ทำให้ผู้นำทางการเมืองในอังกฤษ ต้องเผชิญกับการผลักดันให้มีการเปลี่ยนแปลงภายใต้สหราชอาณาจักร
โดยอังกฤษจะถูกจับตาว่าจะทำตามสัญญาที่จะเพิ่มอำนาจปกครองตนเองแก่พื้นที่อื่น ๆ
ภายในสหราชอาณาจักรอย่างไร ซึ่งรวมทั้งเวลส์ และไอร์แลนด์เหนือ ซึ่งนายกรัฐมนตรีเดวิด คาเมรอน
จะต้องถูกซักถาม
ในประเด็นนี้ ในการเลือกตั้งทั่วไปที่จะมีขึ้นในเดือนพ.ค.ปีหน้าด้วย
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น