ปัจจุบัน
นิยามของคอสเพลย์ไม่ได้มีเพียงการแต่งกายเลียนแบบตัวละครการ์ตูนญี่ปุ่นเท่า
นั้น แต่ยังรวมไปถึงการแต่งตัวเลียนแบบตัวละครในเกม ภาพยนตร์ และวงดนตรี
ทั้งของญี่ปุ่นและของประเทศอื่นๆ ด้วย
ซึ่งการแต่งกายเลียนแบบตัวละครที่เราชื่นชอบ
ถือเป็นอีกหนึ่งกิจกรรมที่วัยรุ่นไทยให้ความสนใจมากขึ้นเรื่อยๆ
บ้างก็ว่าเป็นการปลดปล่อยจินตนาการ
และเป็นกิจกรรมที่ชาวคอสเพลย์ทำเพื่อใช้เป็นพื้นที่ในการแสดงออกทั้งใน
เรื่องความคิดและความสามารถด้านการแสดง
และปฏิเสธไม่ได้เลยว่าชุดที่ได้รับความนิยมสุดๆ นั่นคือชุดนักเรียน
ที่ไม่ว่าจะไปงานไหน ชุดนักเรียนญี่ปุ่นก็ต้องมีให้เห็นเสมอ
ถือเป็นสีสันที่ขาดไม่ได้
แต่ทว่าชุดนักศึกษาไทยของเราไปปรากฏบนเวทีคอสเพลย์ของประเทศญี่ปุ่นบ้างล่ะ
จะเป็นอย่างไร..
จากกรณีที่เว็บไซต์ http://global.rakuten.com/en/store/only-and-one/item/k07152/ ซึ่ง
เป็นเว็บไซต์ของประเทศญี่ปุ่นที่ให้บริการเกี่ยวกับการซื้อขายสินค้าผ่านทาง
อินเทอร์เน็ต ได้ปรากฏการซื้อขายชุดนักศึกษาหญิงของมหาวิทยาลัยรามคำแหง
เพื่อนำไปใช้เป็นชุดสำหรับคอสเพลย์
ซึ่งไม่เพียงแต่จัดจำหน่ายแค่ชุดฟอร์มนักศึกษาเท่านั้น
แต่ยังรวมไปถึงเข็มติดหน้าอก เข็มขัด
และกระดุมที่มีตราสัญลักษณ์มหาวิทยาลัยรามคำแหงปรากฏอีกด้วย
ถือว่าเป็นอีกหนึ่งประเด็นที่ชาวโซเชียลให้ความสนใจ
และมีการตั้งคำถามถึงความเหมาะสมในการนำเครื่องแบบนักศึกษาไทยอันทรงเกียรติ
ไปขายผ่านเว็บไซต์เพื่อใช้ในการสวมใส่เป็นชุดคอสเพลย์หรือไม่ ทางทีมข่าว Life on Campus จึงได้ติดต่อไปทางรองอธิการบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา มหาวิทยาลัยรามคำแหง “อาจารย์ สมหมาย สุระชัย” ถึงกรณีดังกล่าว
“ตอนนี้ผมยังไม่
ได้เห็นรายละเอียดว่าเว็บนี้เป็นยังไง เป็นไปในทางที่ไม่ถูกต้องหรือไม่
และมีแนวโน้มไปในทิศทางใด
ถ้าเว็บนี้นำชุดนักศึกษาไปลงเว็บซื้อขายแล้วเป็นไปในทางอนาจาร
ก็จะขอให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบรายละเอียดก่อน และจะดำเนินการต่อไป
แต่ถ้าไม่ใช่เรื่องที่ส่อไปในทางเสื่อมเสียไปในลักษณะนั้น
ไม่รุนแรงถึงขั้นนั้น เราก็ต้องตรวจสอบอีกเหมือนกันครับ
เพราะปกติแล้วชุดนักศึกษาถือว่าเป็นเรื่องของมหาวิทยาลัยในการที่จะต้องควบ
คุมคนที่ไม่มีสิทธิ และแอบอ้างตัวในการเอาชุดนักศึกษาของเราไปใช้
ซึ่งทางมหาวิทยาลัยรามคำแหงได้กำหนดเรื่องเครื่องแบบไว้ใน พ.ร.บ
มหาวิทยาลัยอย่างชัดเจน ว่าเครื่องแบบนักศึกษาเราเป็นอย่างไร
ถ้าหากนำชุดนักศึกษาเราไปใช้แสวงหาผลประโยชน์
ก็ต้องปรึกษาทางมหาวิทยาลัยก่อน ว่ากรณีนี้จะดำเนินการอย่างไรต่อไป”
ส่วน
มหาวิทยาลัยรามคำแหงนั้น
จะมีลักษณะพิเศษตรงที่ไม่บังคับให้นักศึกษาเข้าเรียน
ซึ่งมหาวิทยาลัยรามคำแหงมีนักศึกษาจำนวนมาก
ขณะนี้มีผู้ที่อยู่ในสภาพนักศึกษาจำนวน 2 แสนกว่าคน
ซึ่งอาจยากต่อการควบคุมหรือตรวจสอบอะไรได้มากนัก
ยกเว้นแต่จะมีภาพหรือชื่อนักศึกษาคนนั้น
ก็จะสามารถตรวจสอบจากทะเบียนนักศึกษาได้ ทาง Life on Campus จึงสอบถามเรื่องการซื้อขายชุดนักศึกษาของมหาวิทยาลัยแห่งนี้ ว่ามีการเข้าถึง หรือซื้อขายยาก-ง่ายเพียงใด
“จริงๆ
การขายชุดนักศึกษาที่เป็นทางการเราจะจัดจำหน่ายไว้ที่สำนักพิมพ์
ของมหาวิทยาลัย
แต่ที่หลีกเลี่ยงไม่ได้คือการขายชุดนักศึกษาที่ขายตามร้านนอกมหาวิทยาลัย
ซึ่งก็จะเหมือนกับมหาวิทยาลัยอื่นๆ ที่เห็นขายทั่วไปตามแถวมาบุญครอง
หรือท่าพระจันทร์ ก็มีขายกัน ทั้งนี้ทั้งนั้น
ก็ขึ้นอยู่กับแต่ละมหาวิทยาลัยว่าจะรณรงค์อย่างไรในเรื่องของการแต่งกายที่
ถูกระเบียบ ส่วนในกรณีนี้เราก็ติดตามดูว่าการนำเอากระดุม เข็มขัด
หรือเข็มมหาวิทยาลัยไปขาย จะต้องมีการห้ามปราม
แต่เราไม่ได้จดทะเบียนลิขสิทธิ์เอาไว้ ซึ่งตรงนี้ก็เป็นปัญหาอีกเหมือนกัน
เพราะบางทีนักศึกษาก็ไปซื้อจากข้างนอก
หน้ามหาวิทยาลัยรามคำแหงก็มีวางแผงขาย ทางเราก็ให้ตำรวจเข้าไปดูแล
จึงเป็นการยากที่จะควบคุมการซื้อขายจากร้านนอกมหาวิทยาลัย อย่างไรก็ตาม
ทางเราจะแจ้งให้เจ้าหน้าที่ติดตาม
และปรึกษากับทางผู้บริหารเพื่อดำเนินการต่อไป”
อีก
หนึ่งฝั่งเสียงของสาวคอสเพลย์ชาวไทย
เมื่อถามถึงความนิยมของสาวกคอสเพลย์คนไทยที่ส่วนใหญ่เลือกหยิบชุดยูนิฟอร์ม
ญี่ปุ่นมาใส่เลียนแบบกันมากเป็นพิเศษ แอมได้ให้รายละเอียดกับทางทีมข่าวว่า “จริงๆ
การคอสเพลย์หลักๆ มีอยู่ด้วยกัน 2 แบบค่ะ คือการคอสเพลย์เป็นตัวอะไร
ชุดตัวละครชื่ออะไร และ คอสออริ ย่อมาจาก ออริจินัล คือไม่มีต้นแบบ
ก็จะเป็นพวกชุดพยาบาล ทหาร ตำรวจ กิโมโน ชุดเมท รวมไปถึงชุดนักเรียนด้วย
และถ้าพูดถึงความฮิตที่คอสเพลย์คนไทยเลือกใส่มากที่สุดก็คือ ชุดยูนิฟอร์ม
เพราะเป็นชุดที่เบสิกที่สุดแล้ว เป็นชุดเรียบๆ หาซื้อได้ง่าย
และไม่ว่าใครจะใส่ก็เข้าหมด ” และอีกเหตุผลสำคัญที่สาวกคอสเพลย์เลือกหยิบชุดนักเรียนญี่ปุ่นมาคอสเพลย์คือ “บ้าน
เขาเป็นอุตสาหกรรมการ์ตูน
จึงมีการสอดแทรกวัฒนธรรมบ้านเขาเข้ามาในรูปแบบสื่อการ์ตูนด้วย เช่น
เวลาดูการ์ตูนแล้วเห็นตัวละครที่ใส่ชุดนักเรียน ทำให้เรารู้สึกแปลกตา
น่ารักน่าใส่
เพราะขนาดบ้านเขาที่ใส่ชุดนักเรียนกันอยู่แล้วก็ยังคอสเพลย์ชุดนักเรียนตาม
การ์ตูนกันเลย”
แอ
มยังพูดถึงการสั่งตัดชุดตามแบบยูนิฟอร์มของญี่ปุ่นอีกด้วยว่า
ไม่จำเป็นต้องลอกเลียนแบบชุดของญี่ปุ่นถึงขั้นเอาเข็มหรือตราโรงเรียนมา
ชุดยูนิฟอร์มพื้นฐานทั่วไปไม่จำเป็นต้องใส่รายละเอียดมากขนาดนั้น “ส่วน
ใหญ่ชุดนักเรียนญี่ปุ่น ที่คนไทยคอสตาม
โดยการตัดชุดใส่หรือหาซื้อเอามาประยุกต์ใช้เข้าด้วยกัน
เราไม่จำเป็นต้องไปหาว่าจะไปคอสยูนิฟอร์มของโรงเรียนอะไรในญี่ปุ่น
ชุดนักเรียนก็คือว่าหาได้ทั่วๆ ไป อย่างถ้าพูดถึงชุดนักเรียนญี่ปุ่น
ทุกคนก็จะวาดภาพออก พื้นฐานก็คือเสื้อเชิ้ตสีขาว กระโปรงลายสกอตสีแดง
โบว์ตรงหน้าอก อันนี่คือเบสิกที่สุดแล้วค่ะ
คือไม่จำเป็นต้องไปเอาแบบมาจากบ้านเขาเป๊ะๆ ขนาดนั้น”
ในส่วนกรณีที่เว็บไซต์ญี่ปุ่นนำชุดนักศึกษาไทยไปลงขายในอินเทอร์เน็ตนั้น แอมให้ความเห็นว่า “ใน
ประเทศญี่ปุ่นเปิดกว้างเรื่องคอสเพลย์มาก
ถึงแม้จะเคยมีการฟ้องร้องเรื่องคอสเพลย์ตามตัวละครการ์ตูนก็ตาม
แต่สังคมญี่ปุ่นถือว่าเป็นการช่วยโปรโมตผลงานไปในตัว
ซึ่งถามว่าการนำชุดนักศึกษาไทยที่มีทั้งเข็ม หรือตรามหาวิทยาลัยไปคอสนั่น
ค่อนข้างไม่เหมาะสม
เพราะวงการคอสเพลย์ของญี่ปุ่นมีทั้งคอสแบบเรียบร้อยธรรมดาทั่วไป
และคอสแบบโชว์วาบหวิว ซึ่งแอมก็ไม่รู้ว่าเขาเอาชุดเราไปใส่ในแนวทางไหน” นอกจากนี้ แอมยังเคยอ่านเจอเรื่องชุดนักศึกษาไทยในมุมมองคนญี่ปุ่นด้วยว่าเป็นชุดที่เซ็กซี่ที่สุด “เคย
อ่านเจอในเว็บว่าชุดนักศึกษาไทยดูเซ็กซี่กว่าชาติอื่น
เพราะเสื้อเชิ้ตรัดรูป กระโปรงก็รัดเห็นทรวดทรง
เขาว่าชุดนักศึกษาเมืองไทยเซ็กซี่ที่สุด
นั่นอาจเป็นเหตุผลที่เลือกหยิบชุดนักศึกษาไทยไปใช้สำหรับการคอสเพลย์ก็ได้”
อย่าง
ไรก็ตาม การซื้อขายชุดนักศึกษาไทยผ่านทางเว็บไซต์ดังกล่าว
จึงต้องได้รับการตรวจสอบจากเจ้าหน้าที่ทางมหาวิทยาลัยรามคำแหงก่อนว่าเป็นไป
ในลักษณะใด ก่อให้เกิดความเสื่อมเสียชื่อเสียงของมหาวิทยาลัยหรือไม่
และมีความเหมาะสมมากน้อยเพียงใด ทั้งนี้
ก็ต้องขึ้นอยู่กับทางมหาวิทยาลัยรามคำแหงว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อไป
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น